วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัชสมัยต่างๆของราชวงค์ไทย1

รัชสมัยต่างๆ ของราชวงศ์ไทย
สมัยอาณาจักรน่านเจ้า
<พระเจ้าเหม่งแซเจ้า                                                           
<พระเจ้ามองกาตา 
<พระเจ้าสินุโล (โอรสพระเจ้ามองกาตา) 
<พระเจ้าพีล่อโก๊ะ (ขุนบรม)
<พระเจ้าโก๊ะล่อฝง (โอรสพระเจ้าพีล่อโก๊ะ) 

สมัยกรุงสุโขทัย 
<ราชวงศ์พระร่วง 
- พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ.ศ. 1781 - ไม่ทราบแน่นอน
- พ่อขุนบาลเมือง พ.ศ. ไม่ทราบแน่นอน - 1820
-พ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. 1820- 1860 (40 ปี)
- พญาเลอไท พ.ศ. 1861-1897 (36 ปี)
- พญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1) พ.ศ. 1897-1919 (22ปี)
- พญาไสลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ 2) พ.ศ. 1919- 1920 (1ปี)
- พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไม่ทราบระยะเวลาแน่ชัด)
- พระมหาธรรมราชาที่ 4 (ไม่ทราบระยะเวลาแน่ชัด) 

สมัยกรุงศรีอยุธยา
<ราชวงศ์อู่ทอง (หรือราชวงศ์เชียงราย)
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พ.ศ. 1893-1912 (19 ปี)
- สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 1912-1913 (1 ปี) 
<ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พะงั่ว) พ.ศ. 1913-1931 (18 ปี)
- พระเจ้าทองลั่น พ.ศ. 1931 (ครองราชย์เพียง 7 วันก็ถูกปลงพระชนม์) 
<ราชวงศ์อู่ทอง (หรือราชวงศ์เชียงราย)
- สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 1931-1938 (7 ปี)
- สมเด็จพระรามราชาธิราช (โอรสสมเด็จพระราเมศวร) พ.ศ. 1938 – 1962 (14 ปี ถูกถอดจากราชสมบัติ) 
<ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระนครอินทราธิราช (พระอินทราชา) พ.ศ. 1952 –1967 (15ปี)
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. 1967 –19991 (24ปี)
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 –2031 (40ปี)
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) พ.ศ. 2031 –2034 (3ปี)
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) พ.ศ. 2034 –2072 (38ปี)
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธธางกูร) พ.ศ. 2072 –2076 (4ปี)
- สมเด็จพระรัษฏาธิราชกุมาร พ.ศ. 2076 (ครองราชย์ 5 เดือน ก็ถูกปลงพระชนม์)
- สมเด็จพระไชยราชาธิราช พ.ศ. 2077 –2089 (12ปี)
- สมเด็จพระยอดฟ้า (โอรสพระไชยราชาธิราช) พ.ศ. 2089 –2091 (2ปี ถูกปลงพระชนม์)
- ขุนวรวงษาธิราช พ.ศ. 2091 (ครองราชย์ 42 วัน ถูกปลงพระชนม์)
- สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก) พ.ศ. 2091 –2111 (20 ปี)
- สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) พ.ศ. 2111 – 2112 (1ปี) 
<ราชวงศ์สุโขทัย
- สมเด็จพระมหาธรรมราชา พ.ศ. 2112-2133 (21 ปี)
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) พ.ศ. 2133-2148 (15 ปี)
- สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระอนุชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) พ.ศ. 2148-2153 ( 15 ปี)
- พระศรีเสาวมาตย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) พ.ศ. 2153 (ครองราชย์ไม่ถึงปี ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์)
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถต่างพระมารดาพระศรีเสาวภาคย์) พ.ศ. 2153-2171 (18 ปี)
- สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) พ.ศ. 2171-2172 (ครองราชย์ 1 ปี - ถูกปลงพระชนม์)
- สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ พ.ศ. 2172 (ครองราชย์ 28 วัน ถูกถอดจากราชสมบัติ, ปลงพระชนม์) 
<ราชวงศ์ปราสาททอง
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2172-2199 (27 ปี)
- สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) พ.ศ. 2199 (ครองราชย์ 4 วัน ถูกปลงพระชนม์)
- สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ. 2199 (ครองราชย์ 2 เดือน ถูกปลงพระชนม์)
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199-2231 (32 ปี) 

<ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
- สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. 2231 –2246 (15ปี)
- สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) พ.ศ. 2246 –2251 (5ปี)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ พ.ศ. 2251 –2276 (24ปี)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ พ.ศ. 2276 –2301 (26ปี)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) พ.ศ. 2301 (ครองราชย์ 2 เดือน สละราชสมบัติออกผนวช)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) พ.ศ. 2301-2310 (9 ปี)
ช่วงปี 2310-2313 ไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน เนื่องจากเป็นช่วงเสียกรุงแก่พม่า 

สมัยกรุงธนบุรี
-สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระเจ้ากรุงธนบุรี) พ.ศ. 2313-2325 (12 ปี) 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนชื่อนายไหฮอง หรือ หยง แซ่แต้ เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์ พระราชชนนีชื่อนางนกเอี้ยง (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับจวนเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก
เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็น บุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ 9 ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดีวัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา และกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ รวมทั้งพระสนมต่าง ๆ รวมทั้งสิน 29 พระองค์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ จ.ศ. 1144 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 เมษายน 2325 พระชนมายุ 48 พรรษา รวมสิริราชสมบัติ 15 ปี

พระราชกรณียกิจ
ด้านการปกครอง ยังคงใช้ระบบการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนด้านกฎหมาย เมื่อครั้งกรุงแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายหายสูญไปมาก จึงโปรดให้ทำการสืบเสาะค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดให้คงไว้ และเป็นการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น
ด้านเศรษฐกิจ เนื่องในสมัยกรุงธนบุรี เป็นระยะเวลาที่สร้างบ้านเมืองกันใหม่ การค้าเจริญรุ่งเรืองทั้งของหลวงและของราษฎร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายทางด้านตะวันออกไปถึงเมืองจีน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือถึงอินเดียตอนใต้ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าของหลวงช่วยบรรเทาภาระภาษีของราษฎรไปได้มาก
ด้านการคมนาคม ใน ยามว่างจากศึกสงคราม จะโปรดให้ตัดถนนและขุดคลองมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในทางค้าขาย ทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง การคมนาคมมีมากแล้ว จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ข้าศึกศัตรู และพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า
ด้านศิลปกรรม ใน สมัยนี้ แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีจะมีการงานศึกสงครามแทบจะมิได้ว่างเว้นก็ ตาม แต่ก็ทรงหาโอกาสฟื้นฟู และบำรุงศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านนาฏดุริยางค์ และวรรณกรรม ด้านนาฏดุริยางค์โปรดให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รื่นเริงครึกครื้นเหมือนครั้งกรุงเก่านับเป็นวิธี บำรุงขวัญที่ใกล้ตัวราษฎรที่สุด พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เปิดการสอนและออกโรงเล่นได้โดยอิสระ
ด้านการศึกษา ในสมัยนั้นวัดเป็นแหล่งที่ให้การศึกษา จึงโปรดให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และโปรดให้ตั้งหอหนังสือหลวงขึ้นเช่นเดียวกันกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงจะเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง ส่วนตำรับตำราที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตก ก็โปรดให้สืบเสาะหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับ สำหรับผู้สนใจอาศัยคัดลอกกันต่อ ๆ ไป และที่แต่งใหม่ก็มี
ด้านการศาสนา โปรด ให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ที่รกร้างปรักหักพังตั้งแต่ครั้งพม่าเข้าเผาผลาญทำลายและกวาดต้อนทรัพย์สิน ไปพม่า แล้วโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์เข้าจำวัดต่าง ๆ ส่วนพระไตรปิฎกยังเหลือตกค้างอยู่ที่ใด ก็โปรดให้คัดลอกสร้างเป็นฉบับหลวง แล้วส่งคืนกลับไปที่เดิมเรื่องสังฆมณฑล โปรดให้ดำเนินตามธรรมเนียมการปกครองคณะสงฆ์ที่มีมาแต่ก่อน โดยแยกเป็นฝ่ายคันถธุระและฝ่ายวิปัสสนาธุระฝ่ายคันถธุระดำเนินการศึกษาพระปริยัติธรรมให้เจริญ ส่งเสริมการสอนภาษาบาลี เพื่อช่วยการอ่านพระไตรปิฎกฝ่ายวิปัสนาธุระ โปรดให้กวดขันการปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นขั้น ๆ ไปตามภูมิปฏิบัติส่วน ลัทธิอื่น ๆ
ด้านการศึกสงคราม ขณะ ที่พระยาตากได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม แต่ก็ยังมิได้ไปครองเมืองกำแพงเพชร เพราะต้องต่อสู้กับข้าศึกในการป้องกันพระนคร

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
<ราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
-สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย



<สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี(นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่
<พระเจ้ารามณรงค์ (บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา
<สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย
<พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (นามเดิมว่า ทองด้วง)
<สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา
<สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
<พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา

                พระราชโอรส พระราชธิดา
เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้ทรงโปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์ 

สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เจ้าฟ้าฉิม)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอิศรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๑๐-พ.ศ. ๒๓๖๗ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๕๒ - พ.ศ. ๒๓๖๗) รัชกาลที่ ๒ แห่งราชจักรีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อ วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์



พระราชลัญจกรประจำพระองค์
พระปรีชาสามารถ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ ๒ นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓) สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น
·       ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม
ทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง
ด้านดนตรี
กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" " เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง
พระภรรยา พระราชโอรส พระราชธิดา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมี พระราชโอรส - พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์

 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เวลาค่ำ ๑๐.๓๐ นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม
ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ๕ พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น ๕๑ พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ เวลา ๗ ทุ่ม ๕ บาท จึงเสด็จสวรรคต ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๓ ปีกุน (จุลศักราช ๑๒๑๒) รวมพระชนมพรรษา ๖๓ พรรษา กับ ๑๑ วัน



ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี
พระราชประวัติ
เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ ๒) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ ๓๗ พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๓
พระราชกรณียกิจ
พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

การคมนาคม
ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองสุนัขหอน
การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น
การศึกษา
ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น รัชกาลที่ ๔ แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ณ นิวาสสถานในพระราชนิเวศน์เดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓ และเป็นลำดับที่ ๒ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ซึ่งตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 โดยมีพระนามก่อนมีพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่" พระองค์เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เมื่อ พ.ศ. 2355 พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 9 พรรษา จึงได้จัดการพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระนาม โดยพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามในพระสุบรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติวงศ์ พงอิศวรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร และได้จัดให้มีพระราชพิธีโสกันต์เมื่อปี พ.ศ. 2359
ครองราชย์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ จึงได้ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ไปเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แต่พระองค์ตรัสว่า ถ้าจะถวายพระราชสมบัติแก่พระองค์จะต้องอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นครองคราชย์ด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นผู้ที่มีพระชะตาแรง ต้องได้เป็นพระมหากษัตริย์
พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4
พระราชกรณียกิจ
การริเริ่ม
โปรดให้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระราชวงศ์ เสนาบดี ทหารและพลเรือนทั้งหลายต่างดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วทุกคน พระองค์มิได้มีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพาร ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายเดียว แต่ทรงพระราชดำริว่าจะต้องทรงให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนของพระองค์ด้วยพระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ในด้านวรรณคดี
ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญได้แก่  ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวดคือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำราตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์ ฯลฯ
ในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงนำนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้
พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ล่วงหน้า ๒ ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเซอร์ แอร์รี่ ออร์ด ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
 พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5
พระมเหสี พระราชินี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด ๙๒ พระองค์ โดย ๓๖ พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก ๕๖ พระองค์ไม่มี และพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค์
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ
การเสียดินแดน
การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
ครั้งที่ ๑ เสียเขตแดนเขมรส่วนนอก เนื้อที่ประมาณ ๑๒๓,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก ๖ เกาะ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐
ครั้งที่ ๒ เสียอาณาจักรล้านช้าง (หรือหัวเมืองลาว) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย
การเสียดินแดนให้อังกฤษ
เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ (นับอย่างใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๒) เพื่อขอกู้เงิน ๔ ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย ๔% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ ๔๐ ปี
 -                    สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม ๑๖ ปี
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 โดยได้รับพระราชทานพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษย์บรมนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์ บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิศัยพงศ์วโรภโตสุชาติคุณสังกาศวิมลรัตน ทฤฆชนมสวัสดิ ขัตติยราชกุมาร" มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๓๐)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๒๓-๒๔๖๘)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๓๐)
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๐)
พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๖๖) และ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๘๔)
พระราชธิดา
มีเพียง ๑ พระองค์ ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติ ณ วันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง

 สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวมพระชนมพรรษาได้ 46 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 16 พรรษา
 พระราชลัญจกรประจำพระองค์

สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพ เมื่อ วันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง เวลา ๑๒.๒๕ นาฬิกา ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปีที่ ๙ ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ รวมพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี(หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรส-พระราชธิดา

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ธเนศรมหาราชาธิราชจุฬาลงกรณ์นาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามงกุฎราชพงศบริพัตรบรมขัตติยมหารัชฎาภิษิยจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร” พระนามทั่วไปเรียกว่า ทูล กระหม่อมเอียดน้อย
เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ต่อมาครั้นทรงโสกันต์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ  เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช (ROYAL MILITARY ACADEMY COUNCIL) ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า
ต่อมาเมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้การปกครองไม่ตรงกับหลักการของพระองค์และทรงเห็นว่าพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่บรรลุผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา
พระราชลัญจกรประจำพระองค์
พระราชกรณียกิจ
ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง
เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลอย่างดีที่สุด
ด้านการปกครอง
ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น  การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราชทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิปไตย
ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม
ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวัน
สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (โอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468- 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) พระราชสมภพ  เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์  ทรงมีพระพี่นางและพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี

พระราชประวัติ
ขณะทรงพระเยาว์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468  เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท
สวรรคต
                พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ด้วยสาเหตุทรงต้องพระแสงปืน ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน  หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต 
พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชกรณียกิจ
การปกครอง
พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป
การศาสนา
ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้
การศึกษา
ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชประวัติ 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดล พระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ไปทรงเปิดผ้าแพรคลุมป้ายแผ่นจารึกพระราชประวัติ
พระนาม ภูมิพลอดุลเดช ได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยทรงกำกับตัวสะกดภาษาอังกฤษว่า Bhumibala Aduladeja โดยในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมาทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ทรงเขียนทั้งสองแบบ จนมานิยมใช้แบบหลัง ซึ่งมีตัว "ย" สะกด มาจนถึงปัจจุบัน 
การศึกษา 
พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อเจริญพระชนมายุได้ ๕ ปี เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี-ซือ-โลซาน 
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ 
ทรงผนวช
-เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา ๑๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม - ๕ พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น

ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์

พระราชโอรส-ธิดา 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา ๔ พระองค์ ดังนี้ 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติ ณ สถานพยาบาลมองซัวซี นครโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่นโดยสังเขป 
มูลนิธิชัยพัฒนา 
มูลนิธิโครงการหลวง 
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา 
โครงการหลวงอ่างขาง 
โครงการปลูกป่าถาวร 
โครงการแก้มลิง 
โครงการฝนหลวง 
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน 
โครงการแกล้งดิน 
กังหันชัยพัฒนา 
แนวพระราชดำริ ผลิตแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ (พ.ศ. ๒๕๒๘) 
แนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง 
เพลงพระราชนิพนธ์ 
พระสมเด็จจิตรลดา
มหาราชของไทยมีทั้งหมด 7 พระองค์ คือ
1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2.
 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
4. 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
5. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
6. สมเด็จพระปิยมหาราช
7. สมเด็จพระภัทรมหาราช
สยามมกุฎราชกุมารในราชวงศ์จักรีมีทั้งหมด 3 พระองค์ คือ
1. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
2. เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ 8)
3. เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
ลำดับแห่ง พระราชวงศ์ไทยใน ปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชประวัติ 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดล ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า เล็ก 
พระนาม ภูมิพลอดุลเดช ได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยทรงกำกับตัวสะกดภาษาอังกฤษว่า Bhumibala Aduladeja โดยในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมาทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ทรงเขียนทั้งสองแบบ จนมานิยมใช้แบบหลัง ซึ่งมีตัว "ย" สะกด มาจนถึงปัจจุบัน 


การศึกษา 
พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อเจริญพระชนมายุได้ ๕ ปี เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี-ซือ-โลซาน 
เสด็จขึ้นครองราชย์
-วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดยต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจากวิทยาศาสตร์ ไปเป็นสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศไทยและคนไทยคลายความโศกเศร้า จากการที่ต้องเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเทศไทยได้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ที่ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะอุทิศพระวรกาและพระราชหฤทัยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า จะทรงครองราชสมบัติเฉพาะในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาเท่านั้น
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครในปีถัดมา โดยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ 
ทรงผนวช
-เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา ๑๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม - ๕ พฤศจิกายน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมณนามว่า ภูมิพโลภิกขุ และเสด็จฯ ไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้น



ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์


พระราชโอรส-ธิดา 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา ๔ พระองค์ ดังนี้ 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี -                   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับหม่อมหลวง บัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ บิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ที่ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเชษฐาและพระกนิษฐภคินี รวม 3 องค์คือ 
หม่อมราชวงศ์ กัลยาณกิติ์ กิติยากร 
หม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์ กิติยากร 
หม่อมราชวงศ์ บุษบา กิติยากร 
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงทำให้ต้องอยู่ไกลจาก พระบิดามารดาในตอนแรก โดยได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประทับ ที่จังหวัดสงขลา ในปี 2476 
ในปี 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกบรรพชาตามโบราณราชประเพณีเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน ในระหว่างที่ผนวชอยู่นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้เฉลิมพระอภิไธย เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ 5 ธันวาคมศกนั้น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ในสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย 
พระราชประวัติ 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระราชภารกิจด้านการศึกษา 
ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และโรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ จากนั้นทรงไปศึกษาต่อ ที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ และสำเร็จการศึกษา จากวิทยาลัยการทหารดันทรูน แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย 
พระราชภารกิจด้านความมั่นคงของประเทศ 
ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์คุกคามความสงบของประชาชนและความมั่นคงของประเทศไทย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฏราชกุมาร ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชาที่เขาล้าน จังหวัดตราด 
พระราชภารกิจทางพระศาสนา 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ 
พระราชภารกิจทางด้านพระพุทธศาสนา 
สำหรับพระราชภารกิจทางด้านพระพุทธศาสนานั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เป็นต้น 


ทรงผนวช 
ทรงฉายขณะทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหารสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชศรัทธาออกนวชในพระพุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้จัดการพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ" และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดจนทรงลาสิกขาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 
อภิเษกสมรส 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ 
หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร (ปัจจุบัน ทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ) เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 
นางสาวยุวธิดา ผลประเสริฐ (หรือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ปัจจุบันคือ คุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์) 
นางสาวศรีรัศมิ์ อัครพงศ์ปรีชา (หรือ หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ปัจจุบันทรงพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
พระราชโอรส-ธิดา 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชธิดา ที่ประสูติแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 1 พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิด์ ที่ประสูติแต่ คุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์ ดังนี้หม่อมเจ้าจุฑาวัชร มหิดล (ท่านอ้วน) ประสูติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2522 
หม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล (ท่านอ้น) ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 
หม่อมเจ้าจักรีวัชร มหิดล (ท่านอ่อง) ประสูติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 
หม่อมเจ้าวัชรวีร์ มหิดล (ท่านอิน) ประสูติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2528
หม่อมเจ้าหญิงบุษย์น้ำเพชร มหิดล ประสูติเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530
ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์
<!--[if !vml]-->




พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สกุลเดิม "อัครพงศ์ปรีชา" ทรงเป็นธิดาคนที่ 3 ของ นายอภิรุจ-นางวันทนีย์ อัครพงศ์ปรีชา พื้นเพเดิมทรงเป็นชาวจังหวัดสมุทรสาคร มีพี่น้อง 5 คน
ด้านการศึกษาทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ก่อนจะเข้าศึกษาในสาขาวิชาวิทยาการจัดการ วิชาเอกการจัดการทั่วไปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2545 และ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) ภาคพิเศษ สาขาการพัฒนาการครอบครัวและเด็ก คณะเกษตรม.เกษตรศาสตร์ ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.94
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ฯ เริ่มเข้าถวายการรับใช้ในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536โดยรับผิดชอบหน้าที่การงานในฐานะข้าราชการพลเรือนในพระองค์ นอกจากนี้ ยังได้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในด้านศิลปาชีพ และได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และเข้ารับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ทรงมีพระประสูติกาลพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระโอรส เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ 

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระราชธิดาองค์แรกใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (ม.ล.โสมสวลี กิติยากร) ทรงเป็นพระราชนัดดา พระองค์แรกใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต 
การศึกษา
ทรงศึกษาระดับอนุบาล ประถมและมัธยมต้น ณ โรงเรียนราชินี และระดับมัธยมปลาย ณ โรงเรียนฮีธฟิลด์ ประเทศอังกฤษ และโรงเรียนจิตรลดาและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ใน ปี พ.ศ. 2544 จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง นอกจากนั้นทรงสำเร็จปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ต่อมาทรงสำเร็จเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) เนติบัณฑิตยสภา ปีการศึกษา 2547 และทรงศึกษาระดับปริญญาโททางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา จากนั้นทรงศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อปีการศึกษา 2548
ปัจจุบัน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงรับราชการเป็นข้าราชการอัยการผู้ช่วย รุ่นที่ 39 ทรงแสดงเจตจำนงที่จะรับราชการในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดอุบลราชธานีเป็นพิเศษ 
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ประสูติแต่หม่อมสุจาริณี มหิดล (วิวัชรวงศ์) หรือยุวธิดา ผลประเสริฐ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เมื่อประสูติทรงพระนามว่า หม่อมเจ้าหญิงบุษย์น้ำเพชร ต่อมาจึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า หม่อมเจ้าหญิงจักรกฤษณ์ยาภา ภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าสิริวรรณวรี มหิดล
ปัจจุบัน แม้ว่าจะอยู่แยกพระมารดาและพระเชษฐาของพระองค์เนื่องด้วยเหตุบางประการ แต่ในขณะนี้ฝ่ายพระมารดาของพระองค์ได้ใช้ชีวิตเป็นสามัญชนทั่วๆ ไป
การศึกษา 
หม่อมเจ้าสิริวรรณวรี มหิดล ทรงจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนจิตรลดา ทรงพระปรีชาสามารถในด้านศิลปะ และด้านกีฬาแบดมินตัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ปัจจุบัน ทรงศึกษาอยู่ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 ณ โรงพยาบาลศิริราช พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ(หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา) 
การสมโภช 
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ตามพระราชประเพณี เมื่อพระเจ้าหลานเธอฯ มีพระชนมายุครบ 1 เดือน 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชประวัติ 
พระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวายพระประสูติกาล และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลยโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพาร เรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย และ ทูลกระหม่อมอาจารย์ สำหรับนักเรียนนายร้อย 
พระนาม "สิรินธร" นั้น นำมาจากสร้อยพระนามของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งเป็นพระราชปิตุจฉา (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยหากจะพิจารณาถึง คำในพระนามแล้ว จะพบคำว่า "สิริ" ซึ่งมาจากพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
การศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานปริญญาบัตรแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2520เมื่อปี พ.ศ. 2510 พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา และทรงศึกษาต่อในโรงเรียนจิตรลดาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในปี พ.ศ. 2510 ทรงสอบไล่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปลายด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ และ ในปี พ.ศ. 2515 ก็ทรงสอบไล่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศเช่นเดียวกัน 
พระอัจฉริยภาพ
ด้านภาษา 
พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ทรงสามารถรับสั่งเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีนและทรงกำลังศึกษา ภาษาเยอรมัน และภาษาลาตินอีกด้วย นอกจากนี้ ยังทรงสนพระทัยในภาษาอังกฤษและภาษาบาลีด้วย 
ด้านดนตรี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงดนตรีพระองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง โดยทรงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด แต่ที่โปรดทรงอยู่ประจำ คือ ระนาด ซอ และฆ้องวง โดยเฉพาะระนาดเอก พระองค์ทรงเริ่มหัดดนตรีไทย หลังจากที่ทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงเข้าร่วมชมรมดนตรีไทยของสโมรสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะอักษรศาสตร์ โดยทรงเล่นซอด้วงเป็นหลัก และทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่น ๆ ด้วย 


ด้านพระราชนิพนธ์ 
พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ร้องแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีหลายหลากประเภททั้งสารคดีท่องเที่ยวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ
พระราชกรณียกิจ
ด้านการศึกษา 
เมื่อพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับในระดับอุดมศึกษาแล้ว ทรงเข้ารับราชการเป็นพระอาจารย์ประจำกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์  ต่อมา เมื่อมีการตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2530 พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน และทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ เป็นต้น
พระสัญลักษณ์ประจำพระองค์  : พระนามาภิไธยย่อ สธ ภายใต้มงกุฎขัตตินารี ไม่มีพระจอน


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมา
ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
การศึกษา
ทรงพระอักษรเบื้องต้นในระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนจิตรลดา ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ ๑ วิชาเอกเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทรงสำเร็จปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตวิชาเอกเคมีเกียรตินิยมอันดับ ๑ทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมีด้วย
พระธิดา 
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์


พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ หรือ พระองค์หริภา พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ และนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน ประสูติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 พระพี่นางในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงมีความสามารถในเชิงศิลปะ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2549 
ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธาน ศูนย์ปฏิบัติการบินอาสา อนุรักษ์และกู้ภัย สิริภาจุฑาภรณ์ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ หรือ พระองค์ติ๊ด พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ และนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน ประสูติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 และเป็นพระน้องนางในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ 
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ปัจจุบันพำนักอยู่กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน ที่มลรัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา ทรงศึกษาอยู่ที่สถาบันศิลปะวอชิงตัน (The Art Institute of Washington)

                
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและทรงลาออกฐานันดรศักดิ์ เพื่อทรงสมรสกับปีเตอร์ เจนเซนและทรงประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2541 และเสด็จนิวัติประเทศไทย
พระประวัติ
วันประสูติ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และได้เสด็จนิวัติพระนคร แล้วประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิตและเมื่อถึงงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเมื่อประสูติ คือ"สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี"
พระนาม "อุบลรัตน์" มาจากนามของ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระอัยกีของพระองค์
การศึกษา
การศึกษาของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนจิตรลดา จนกระทั่งทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาแล้วต่อมาจึงได้เสด็จไปประทับ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงเข้ารับการศึกษาต่อจนจบสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์( MASSACHUSETTS INSTITUTE OF TECHNOLOGY )เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จากนั้น พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาต่อจนจบสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส( U.C.L.A )ณ ลอสแอนเจลิสประเทศสหรัฐอเมริกา ใน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์( STATISTICS AND PUBLIC HEALTH ) จนสำเร็จในการศึกษา
การเสกสมรส
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อทรงเสกสมรสกับนายปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน และทรงประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 26 ปี จนเมื่อ พ.ศ. 2541ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ทรงประกาศทรงหย่ากับนายปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน และ เสด็จกลับนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวร เมื่อพ.ศ. 2544
พระโอรส พระธิดา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อได้ทรงประทับขณะอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกากับปีเตอร์ เจนเซนพระองค์ทรงมีพระโอรสพระธิดา 3 พระองค์ ที่ได้ประสูติประเทศสหรัฐอเมริกาคือ
คุณพลอยไพลิน เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
คุณพุ่ม เจนเซนเกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2526 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
คุณสิริกิติยา เจนเซนเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2528  ประทับประเทศสหรัฐอเมริกา
พระกรณียกิจ

ด้านการส่งเสริมและช่วยเหลือ
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงปฏิบัติพระกรณียกิจด้านการช่วยเหลือราษฎรษร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์ การศึกษา การกีฬา สุขภาพอนามัย และองค์การการกุศลอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน
ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี มีพระดำรัสให้ครอบครัวผู้ประสบภัยสึนามิ มีพลังใจเข้มแข็งต่อสู้ชีวิตพร้อมขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยให้เห็นถึงความมีน้ำใจของคนไทย มีพระดำรัสหลังเป็นประธานเปิดงานพิธีรำลึก 2 ปี สึนามิ ณ บริเวณหาดบางเนียง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ว่า ในปี 2549 ถือเป็นปีที่ 2 ของการจัดงานรำลึกถึงผู้ที่สูญเสียที่ซึ่งเป็นที่รักจากภัยพิบัติสึนามิ ดังนั้น จึงขอให้ผู้ที่ประสบภัยรวมทั้งครอบครัวของผู้ที่สูญเสียบุคคลซึ่งเป็นที่รัก นำเอาความสูญเสียและความทรงจำในอดีต เก็บไว้เพียงแต่สิ่งที่ดีเพื่อเป็นพลังใจอันเข้มแข็งต่อสู้ดำเนินชีวิตต่อไป
ด้านศาสนา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทางศาสนา หลายครั้ง ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณะบุคคลต่างๆ หรือส่วนพระองค์ อยู่เป็นประจำ อาทิเช่นงานพระราชทานเพลิงศพจากบุคลคลสำคัญที่เสียชีวิตลง ฯลฯ และงานพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพร เนื่องในวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นประจำทุกปี
ด้านการศึกษา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทางการศึกษา เป็นประจำทุกปี ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณะบุคคลต่างๆหรือเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งจะเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีนี้เป็นประจำทุกๆปี 
ด้านการรณรงค์การแก้ไขปัญหายาเสพติด
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 6-25 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่ม เสี่ยงสูง ดังนั้นพระองค์จึงทรงก่อตั้งและทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดหรือโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
ด้านสาธารณสุข
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2548 คุณพุ่ม เจนเซ่น ได้ถึงแก่กรรม โดยมีพระดำริเห็นว่าคุณพุ่ม เจนเซ่นซึ่งเป็นโรคออทิสติก ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงเห็นเด็กที่มีเป็นโรคออทิสติกเป็นบานกลางและไม่ได้เรียนหนังสือและศึกษาเล่าเรียน จนทำให้เป็นคนไม่ปกติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้งมูลนิธิคุณพุ่มขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2548 เพื่อทรงช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคออทิสติกนั้น ได้ฝึกให้เด็กที่เป็นโรคออทิสติก ได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาตนเองทางประสาทเพื่อให้เป็นคนปกติเหมือนคนทั่วไปได้
พระปรีชาสามารถ
ด้านการแสดงละคร
การแสดงภาพยนตร์
ด้านการกีฬา
ด้านการร้องเพลง
ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์



คุณพลอยไพลิน เจนเซน
คุณพลอยไพลิน เจนเซน หรือ คุณพลอย, พะพอย ธิดาคนโตของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับนายปีเตอร์ เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ที่เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ศึกษาวิชาการดนตรีที่ Purcell School กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก
ปัจจุบันศึกษาต่ออยู่ที่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ 
คุณพลอยไพลิน เจนเซน มีผลงานการแสดงละครเรื่อง ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน เมื่อ พ.ศ. 2544 และการแสดง แม่น้ำของแผ่นดิน

- คุณพุ่ม เจนเซน
คุณพุ่ม เจนเซน หรือ คุณภูมิ เจนเซน โอรสของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับนายปีเตอร์ เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2526 ณ โรงพยาบาลในเมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ศึกษาต่อในโปรแกรมพิเศษออทิสติก ที่โรงเรียนสาธิตเกษตรศาสตร์ อินเตอร์เนชั่นแนลโปรแกรม และโปรแกรมวิทยาศาสตร์กีฬา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ปัจจุบัน : ถึงแก่อนิจกรรม ในเหตุการณ์คลื่นสึนามิ เนื่องจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ที่หน้าโรงแรมลา ฟลอร่า ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศราชวงศ์ และตั้งศพสวดพระอภิธรรมที่ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดขึ้น ณ เมรุหลวง หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2548
คุณสิริกิติยา เจนเซน
คุณสิริกิติยา เจนเซน หรือ คุณใหม่ ธิดาคนสุดท้องของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับนายปีเตอร์ เจนเซน นามเดิมว่า คุณใหม่ เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2528 ที่เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คุณสิริกิติยา เจนเซน" โดยนำคำว่า "สิริกิติ์" นำมาจากพระนามของสมเด็จพระอัยกี(สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
พันเอกหญิง นาวาเอกหญิง นาวาอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
พระประสูติกาล
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี [พระนามเดิม เครือแก้ว อภัยวงศ์ ธิดา พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับ คุณเล็ก บุนนาค] ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคตเพียงวันเดียว
เมื่อทรงพระเยาว์
ขณะสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระเมตตาเอาพระราชหฤทัยใส่ดูแลทั้งด้านพระอนามัยและความเป็นอยู่มาโดยตลอด ระหว่างทรงพระเยาว์ มีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองหลายครั้ง
พระกรณียกิจสังเขป
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ มีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจ ดังปรากฏในพระดำรัสที่พระราชทานในงานฉลองพระชนมายุ ๖๑ พรรษา ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ ณ วชิราวุธวิทยาลัย ความตอนหนึ่งว่า
"ฉันขอกล่าวต่อท่านทั้งปวงว่า จะพยายามบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์แก่บ้านเมือง ด้วยความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระประมุขของชาติ ทั้งจะได้รักษาเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นราชนารีในมหาจักรีบรมราชวงศ์ไว้ชั่วชีวิต"
<พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลเรือเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 02.54 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร สิริพระชนมายุ 84 พรรษา) ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา)
พระประสูติกาล
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา
การศึกษา
ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่อนุบาลปาร์คสกูล ในช่วงปี พ.ศ. 2469-2471 ขณะที่ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก หลังจากนั้น พ.ศ. 2471-2476 เมื่อเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทย ทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และทรงย้ายไปศึกษาที่เมืองปุยยี (Pully) สวิตเซอร์แลนด์ ในโรงเรียน Superieur de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne จากนั้น พ.ศ. 2481 เสด็จไปศึกษาต่อที่อินเตอร์เนชั่นแนลสกูล กรุงเจนีวา และทรงสำเร็จปริญญาด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยโลซาน เมืองโลซาน และได้รับ diplome de chimiste et pedagogiques ไปพร้อมกัน อันประกอบด้วยสาขาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยา
ทรงเสกสมรส
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ เพื่อสมรสกับ พันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2487 พระองค์มีพระธิดา คือ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สมรสกับนายสินธู ศรสงคราม มีบุตรชาย คือ คุณจิทัศ ศรสงครามทรงเจริญพระชันษาครบ 84 ปี
สิ้นพระชนม์
ในวันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 02.54 น. สิ้นพระชนม์ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช หลังจากเข้ารับการรักษาพระองค์จากโรคมะเร็งและอาการพระสมองตายนับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550 รวมพระชันษา 84 ปี
พระกรณียกิจ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ สัตว์เลี้ยง และ ฯลฯ
พระกรณียกิจในด้านการศึกษา ทรงก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นในปีพุทธศักราช 2520 ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นเอนกประการทั้งในด้านการศึกษา สังคมสงเคราะห์และสาธารณสุขจนเป็นที่ประจักษ์ชัดในวงการศึกษา เป็นต้น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระนามเดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร ประสูติเมื่อวันเสาร์ ที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ โรงพยาบาลกายส์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล ทรงมีพระขนิษฐาคือ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (จิราธิวัฒน์) 
หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนจิตรลดา ต่อมาเมื่อหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ ย้ายมาเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ 
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ก็ได้ทรงย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วย ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย
ทรงเข้าสู่พระราชพิธีอภิเษกสมรส เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงพระประสูติกาลพระธิดา คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศเฉลิมพระนาม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์